Main menu:
ด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บัญญัติเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
มาตรา 32 ทวิ บัญญัติให้เจ้าของอาคาร 9 ประเภท
ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรมแล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อพนักงานท้องถิ่นตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง พ.ศ. 2550 เป็นปีแรกที่กฎกระทรวงข้างต้นมีผลบังคับใช้ กฎกระทรวงดังกล่าวออกไว้ใน พ.ศ. 2548 เรียกกฎกระทรวงว่า กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. 2548 (ขอเรียกสั้นๆ ว่า กฎกระทรวง พ.ศ. 2548 เพื่อความสะดวก) กฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ได้กำหนดขอบเขตการตรวจสอบอาคาร โดยกำหนดให้การตรวจสอบอาคารแต่ละปีนั้นต้องตรวจสอบอาคารให้ครอบคลุมตามหัวข้อที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 17 ทั้งนี้หากปีใดเป็นการตรวจสอบใหญ่แล้ว การตรวจสอบอาคารจะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 14 เพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคารนั้น กฎกระทรวง พ.ศ. 2548 กำหนดไว้ว่าให้ดำเนินการตรวจสอบอาคารโดยใช้หลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 18 ซึ่งมีหลักเกณฑ์ให้เลือกปฏิบัติ 2 แนวทาง คือ หลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในกฏกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 18 (1) หรือ กฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 18 (2) โดยที่ปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์เป็นการเฉพาะเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 18 (1) และยังไม่มีมาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสภาสถาปนิก ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ข้อ 18 (2) ให้เลือกใช้ในทางปฏิบัติ ผู้ตรวจสอบอาคารจึงตรวจสอบอาคาร โดยพิจารณาจากข้อบังคับตามกฎกระทรวงต่างๆ ที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นข้อบังคับ เกี่ยวกับการออกแบบ การควบคุมการก่อสร้างเป็นสำคัญ ซึ่งเจตนารมณ์ของการตรวจสอบอาคารแล้วเป็นการตรวจสอบสภาพอาคารจากการใช้งานเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรคมากมายยิ่งในการตรวจสอบอาคาร แทนที่จะมุ่งเน้นสภาพการใช้งานอาคารกลับมุ่งย้อนไปตรวจสอบการออกแบบ การควบคุมงาน การอนุญาตใช้อาคารโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถบรรลุผลตามเจตนารมณ์เพื่อการตรวจสอบสภาพการใช้งานอาคารหากว่า มีเกณฑ์การตรวจสอบที่มีความยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลง พัฒนา และปรับปรุงได้ตามเวลาอันสมควรจากเกณฑ์ระดับต่ำไปสู่เกณฑ์ระดับที่สูงขึ้น นอกจากจะทำให้การทำงานของแต่ละฝ่ายทั้งผู้ตรวจสอบ เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าของอาคารมีความชัดเจนมากขึ้น ยังเป็นการส่งเสริมให้อาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบเกิดความสนใจเข้าร่วมการตรวจสอบอาคารมากขึ้นได้ รวมทั้งสามารถลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันได้หลายประการกรุงเทพมหานคร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์และสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคารได้เล็งเห็นปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร 9 ประเภท เพื่อดำเนินการจัดทำเกณฑ์สำหรับใช้ตรวจสอบอาคารทั้ง 9 ประเภท เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ทางเลือกสำหรับใช้ในการตรวจสอบสภาพใช้งานอาคารเป็นการเฉพาะ โดยหวังว่าร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร9 ประเภท จะนำมาใช้เพื่อลดปัญหา การออกใบรับรองการตรวจสอบอาคาร (ร. 1) ให้กับอาคารที่มีสภาพพร้อมใช้งาน หรือการออกคำสั่งให้อาคารปรับปรุงโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากพบว่าอาคารดังกล่าวมีข้อบกพร่องที่ผู้ตรวจสอบให้ความเห็นในรายงานตรวจสอบอาคารต่อไป
ที่มา: http://www.bsa.or.th