ตรวจโรงงานอุตสาหกรรม - เมืองในเมือง รวมเรื่องจัดการที่ดินเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน ด้วยความสุขกายสุขใจ

"เมืองในเมือง" รวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ดิน
การเกษตร สุขภาพ และบ้านวัยเกษียณ
Go to content

Main menu:

ข้อควรรู้เรื่องที่ดิน > ตรวจสอบมอก.

องค์ประกอบของโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

1. เป็นอาคาร สถานที่หรือยานพาหนะ
2. ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป
3. สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพลำเลียง เก็บรักษาหรือทำลาบสิ่งใด ๆ
4. เป็นประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดในกฎกระทรวง


จำพวกของโรงงานอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535

1. โรงงานจำพวกที่ 1 : โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่ สามารถประกอบกิจการโรงงาน ได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบการ
2. โรงงานจำพวกที่ 2 : โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน
3. โรงงานจำพวกที่ 3 : โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่การตั้งโรงงานจะต้อง ได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้

คำแนะนำโรงงาน

1. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กำหนดให้แบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวก คือ
- โรงงานจำพวกที่ 1 เป็นโรงงานที่สามารถประกอบกิจการได้ทันทีตามความประสงค์ของผู้ประกอบกิจการ แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงและประกาศกระทรวง
- โรงงานจำพวกที่ 2 เป็นโรงงานที่ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
เช่นกัน และเมื่อจะเริ่มประกอบกิจการโรงงานให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน (ขอรับและยื่นแบบ
ใบแจ้งการประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 ได้ที่สำนักควบคุมและตรวจโรงงาน)
- โรงงานจำพวกที่ 3 เป็นโรงงานที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะตั้งโรงงานได้ ( ซื้อคำขอฯ ได้ที่กองคลัง ชั้น 1 และยื่นคำขอฯ ที่สำนักงานเลขานุการกรม ชั้น 1 )

2. การตรวจสอบสถานภาพของโรงงานว่าจัดเป็นโรงงานจำพวกใด จะต้องมีข้อมูลชนิดของกิจการ (จะประกอบกิจการอะไรบ้าง) แรงม้าเครื่องจักรรวมและจำนวนคนงานที่ใช้ในโรงงาน เพื่อนำมาจัดจำพวก
โรงงาน โดยตรวจสอบด้วยตนเองจากกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราช-บัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หรือจะสอบถามจากทางราชการได้ที่
2.1 สำนักควบคุมและตรวจโรงงาน (ชั้น 2,3 และ 4 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม)
2.2 ศูนย์บริการเพื่อการลงทุน (ชั้น 1 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม)
2.3 สำนักเลขานุการกรม (ชั้น 1 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม)
2.4 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด

3. การชำระค่าธรรมเนียมรายปี ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน และต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีต่อไปทุกปีเมื่อถึงวันครบกำหนดวันเริ่มประกอบกิจการโรงงานในปีถัดไป ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน
โรงงานในเขตกรุงเทพมหานครชำระค่าธรรมเนียมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนโรงงานในจังหวัดอื่นๆ ชำระที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

คำแนะนำทะเบียนเครื่องจักร
1. พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ.  2514 กำหนดให้ให้เครื่องจักรเป็นสังหาริมทรัพย์
ที่สามารถจดทะเบียนจำนองและทำนิติกรรมอื่นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

2. เครื่องจักรที่สามารถนำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และจำนอง/ขายฝากต้องมีหลักฐาน แสดงกรรมสิทธิ์เครื่องจักร เช่นใบเสร็จรับเงิน Invoice หรือหนังสือรับรองกรรมสิทธิ์จากผู้ขายสอบถามรายละเอียดจากทางราชการได้ที่
2.1 สำนักทะเบียนเครื่องจักรกลาง (ชั้น 2 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม)
2.2 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัด

3. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องจักร
การจดทะเบียนเครื่องจักร จะมีส่วนของค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์จดทะเบียนจำนอง/ขายฝาก และ การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่าง? (ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี)
แปลงเครื่องจักรเป็นทุน
- สร้างงาน
- สร้างรายได้
- สร้างผู้ประกอบการ
- สร้างมูลค่าเพิ่มเครื่องจักร

ทุน คืออะไร
ทุน คือ ทรัพย์ที่สำรองไว้เพื่อการใดการหนึ่ง เช่นเดียวกับเวลาที่เราต้องการเริ่มต้นกิจการของตัวเองก็จำเป็นต้องอาศัย “ทุน” เพื่อใช้ในการเริ่มต้นกิจการนั้น ๆ นั่นเอง

ทำอย่างไรให้มี “ทุน”
โดยทั่วไปการที่เราจะได้มาซึ่ง “เงินทุน” ในการประกอบกิจการนั้น ต้องอาศัยการเก็บหอมรอบริม หรือไม่ก็กู้เงินจากสถานบันการเงินโดยใช้หลักทรัพย์ ที่มีมูลค่าเป็นหลักค้ำประกัน ในการกู้ยืมเงิน ซึ่งหลายครั้งพวกเราบางคนก็ไม่ได้มีทรัพย์สิน ก็ไม่สามารถที่จะหาหลักทรัพย์ใด ๆ มาใช้เป็นหลักค้ำประกัน ทำให้ไม่อาจากู้ยืมเงินได้

การแปลงเครื่องจักรเป็นทุน
การจดทะเบียนเครื่องจักรเพื่อแปลงเครื่องจักรเป็นทุน
การแปลงเครื่องจักรเป็นทุน ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการให้บริการจดทะเบียนเครื่องจักร ภายใต้ พ.ร.บ. จดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 และ พ.ร.บ. จดทะเบียนเครื่องจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 นั้น มีหลักการดำเนินการโดย สรุป คือ “เครื่องจักร” เป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจำนองได้หากเจ้าของเครื่องจักรได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้ การที่เครื่องจักรสามารถจำนองได้ ทำให้เจ้าของเครื่องจักรมีเงินทุนสำหรับหมุนเวียนใช้ในกิจการ นอกเหนือจากเงินทุนหมุนเวียนที่ได้จากการจำนองที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์
1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลฉบับปีปัจจุบัน และคัดไม่เกิน 3 เดือน พร้อมวัตถุประสงค์ และสำเนาหนังสือรับรองดวงตราประทับจากกระทรวงพาณิชย์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
2. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามในการขอ
3. หนังสือมอบอำนาจ ปิดอากร  30 บาท พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
4. สำเนาเอกสารของทางราชการ ซึ่งระบุรายละเอียดของสถานที่ตั้งเครื่องจักร เช่น ใบอนุญาตโรงงาน ใบทะเบียนการค้า ใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาล ฯลฯ
5. เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เครื่องจักร เช่น ใบเสร็จรับเงิน Invoice หนังสือรับรองการขาย สัญญาซื้อขาย ฯลฯ
6. แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร (ถูกมาตราส่วน)
7. แผนที่สังเขปแสดงที่ตั้งสถานประกอบการ
8. รูปถ่ายเครื่องจักร แสดงด้านหน้า และด้านข้าง (อย่างน้อย 2 รูป/เครื่อง)
9. หนังสือยินยอมให้ติดตั้งเครื่องจักรในกรณีเจ้าของเครื่องจักรมิใช่เจ้าของสถานประกอบการ พร้อมสำเนารับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลฉบับปีปัจจุบันของผู้ยินยอมและสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามในหนังสือยินยอมให้ติดตั้งเครื่องจักร

ขั้นตอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร (อ.1/1) พร้อมเอกสารหลักฐาน
2. ตรวจเครื่องจักร , เอกสารหลักฐาน (ครบถ้วนถูกต้อง)
3. ประกาศ 5 วัน
* คัดค้านการจดทะเบียนระหว่างประกาศ (ถ้ามี)
4. ชำระค่าธรรมเนียม
5. ติดแผ่นป้ายหมายเลขทะเบียน
6. ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์คิดตามมูลค่าเครื่องจักร
• มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 50,000 บาท เครื่องละ 50 บาท
• มูลค่าเครื่องจักรเกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เครื่องละ 250 บาท
• มูลค่าเครื่องจักรเกินกว่า 100,000 บาท เครื่องละ 500 บาท
• จดทะเบียนหลายเครื่อง และมีมูลค่าต่างกันในโรงงานเดียว และในคราวเดียวกัน คิดสูงสุด ไม่เกิน 10,000 บาท
• ค่าธรรมเนียมแผนป้ายแผ่นละ 100 บาท สูงสุดคิดไม่เกิน 1,000 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนจำนอง / ขายฝาย
1. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร (ร.2/1)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลฉบับปีปัจจุบันคัดไม่เกิน 3 เดือน กรณีเป็นนิติบุคคล
3. ถ้าผู้จำนอง / ขายฝาก เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัท จำกัด ต้องมีรายงานการประชุมให้นำเครื่องจักรมาจำนอง / ขายฝากได้
4. ถ้าผู้จำนอง / ขายฝากเป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีหนังสือยินยอมจากคู่สมรส
5. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงนามในการขอ
6. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาทะเบียนบ้าน / บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจในกรณีให้ผู้อื่นดำเนินการแทน

ขั้นตอนการจดทะเบียนจำนอง / ขายฝากเครื่องจักร
1. ผู้จำนองหรือขายฝาก ยื่นคำขอ อ.1/2 พร้อมหลักฐาน หรือ ผู้จำนองหรือซื้อฝาก ยื่นเอกสาร
2. พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอเอกสาร ฯ  ทำหนังสือสัญญาจำนองหรือขายฝากตามแบบ อ.2/1 หรือ อ.2/2
3. ผู้จำนองหรือขายฝากและผู้รับจำนองหรือซื้อฝาก เซ็นสัญญาจำนองหรือสัญญาขายฝาก
4. ชำระค่าธรรมเนียม
5. นายทะเบียนจดทะเบียนจำนอง / ขายฝาก
6. ผุ้จำนองหรือขายฝากรับสัญญา 1 ฉบับ หรือ ผู้รับจำนองหรือซื้อฝากรับสัญญา 1 ฉบับ และหนังสือสำคัญ
ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนจำนอง / ขายฝาก พันละ 1 ของจำนวนเงินที่จำนอง / ขายฝาก แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท



"เครื่องจักร” ที่จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้

บัญชี 1 เครื่องจักร

(ก) เครื่องจักรที่ใช้ในกรรมวิธีโดยตรงของกิจการอุตสาหกรรม
(ข) เครื่องจักรดังต่อไปนี้

เครื่องจักรจ่ายพลังงาน ซึ่งไม่ใช่พลังงานไฟฟ้า

(1) เครื่องจักรจ่ายพลังงาน รวมทั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า
เครื่องจักรนำพา หรือยกระดับของแข็ง หรือของอื่นที่เป็นกลุ่มก้อน
(2) เครื่องจักรชั่ง  หรือผสมส่วนของแข็ง หรือของเหลว
(3) เครื่องจักรขันดัน หรือยกระดับของเหลว
(4) เครื่องจักรขับดันก๊าซ
(5) เครื่องจักรทำความเย็น ปรับอากาศ หรือปรับสภาวะก๊าซ
(6) เครื่องจักรหล่อหลอม หรือแปรรูปโลหะ
(7) เครื่องจักรแยกฝุ่นละออง เศษของแข็งจากก๊าซ
(8) เครื่องจักรแยกของแข็งจากของเหลว
(9) เครื่องจักรผสมของเหลวที่มีความหนืดต่ำ
(10) เครื่องจักรแยกของแข็งจากของเหลว
(11) เครื่องผสมของเหลวที่มีความหนืดต่ำ
(12) เครื่องจักรผสม นวด หรือคลุกเคล้าของแข็ง ของเหลวที่มีความหนืดสูง หรือ สารละเอียดชื้น และเหนียว
(13) เครื่องจักรย่อย หรือบดของแข็ง
(14) เครื่องจักรแยก หรือคัดขนาดของแข็งหรือของเหลว
(15) เครื่องจักรทำสารละลายให้เข้มข้นโดยการระเหย
(16) เครื่องจักรทำสารละลายให้ตกผลึก
(17) เครื่องจักรทำผลิตภัณฑ์ให้แห้ง
(18) เครื่องจักรกลั่น หรือกำลังลำดับส่วน (Fractionating) จากของแข็ง หรือ ของเหลวผสม
(19) เครื่องจักรทำสุญญากาศ
(20) เครื่องจักร ต้ม เคี่ยว นึ่ง อบ หรือ เผาของแข็ง หรือของเหลว
(21) เครื่องจักรถ่ายเทความร้อน (Heater Exchangers) ระหว่างของไหล (Fluids) โดยผ่านผนังที่บรรจุ

บัญชี 2 กิจการอุตสาหกรรม
1. อุตสาหกรรมการฆ่าสัตว์ การชำแหละ หรือการถนอมเนื้อสัตว์
2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นม
3. อุตสาหกรรมการถนอมผลไม้ หรือผลักโดยการบรรจุหรืออัดในภาชนะ
4. อุตสาหกรรมการถนอมหรือการปรุงแต่งอาหารประเภทสัตว์น้ำหรืออาหารทะเล
5. อุตสาหกรรมน้ำมันพืช หรือไขสัตว์
6. อุตสาหกรรมการขัด การสี การโม่ หรือการป่นเมล็ด หรือหัวพืช
7. อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปจากแป้ง
8. อุตสาหกรรมน้ำตาล
9. อุตสาหกรรมลูกกวาด ทอฟฟี่ ช็อกโกแลตแท่ง หรือขนมอื่นทำนองเดียวกัน
10. อุตสาหกรรมน้ำแข็ง
11. อุตสาหกรรมอาหารอื่นสำหรับคน
12. อุตสาหกรรมอาหารสำหรับสัตว์
13. อุตสาหกรรมการผลิตสุราหรือเบียร์
14. อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์
15. อุตสาหกรรมยาสูบ
16. อุตสาหกรรมการเตรียมเส้นใย การปั่นด้าย การทอ หรือการแต่งสำเร็จซึ่งผ้า
17. อุตสาหกรรมสิ่งถัก
18. อุตสาหกรรมเครื่องนุ่มห่ม
19. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากสิ่งทอ ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่มห่ม
20. อุตสาหกรรมสิ่งทออื่น
21. อุตสาหกรรมพรม
22. อุตสาหกรรมเชือก
23. อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ หรือกระดาษ
24. อุตสาหกรรมกล่อง ถุง หรือ หีบ ที่ทำด้วยกระดาษ
25. อุตสาหกรรมสิ่งของอื่นที่ทำด้วยเยื่อกระดาษหรือกระดาษ
26. อุตสาหกรรมเคมีขั้นพื้นฐาน
27. อุตสาหกรรมปุ๋ย
28. อุตสาหกรรมยาฆ่าแมลง
29. อุตสาหกรรมยางเรซินสังเคราะห์ พลาสติก หรือเส้นใยสังเคราะห์ นอกจากเส้นใยแก้ว
30. อุตสาหกรรมสีทา น้ำมันซักเงา แลคเกอร์ หรือทินเนอร์
31. อุตสาหกรรมยา
32. อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สบู่ หรือสิ่งชำระล้าง
33. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เคมีอื่น
34. อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
35. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือถ่านหิน
36. อุตสาหกรรมเหล็ก หรือ เหล็กกล้า ในขั้นพื้นฐาน
37. อุตสาหกรรมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ในขั้นพื้นฐาน
38. อุตสาหกรรมของมีคม เครื่องมือ หรือเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ
39. อุตสาหกรรมเครื่องเรียน หรือเครื่องตกแต่งภายในอาคารที่ทำด้วยโลหะทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่
40. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะที่เป็นโครงสร้าง
41. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้าง เครื่องจักร หรืออุปกรณ์
42. อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ หรือ เครื่องกังหันที่เป็นต้นกำลัง
43. อุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร
44. อุตสาหกรรมเครื่องจักรสำหรับงานโลหะหรืองานไม้
45. อุตสาหกรรมเครื่องจักรที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมเฉพาะอย่าง
46. อุตสาหกรรมเครื่องจักร หรือเครื่องอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่เครื่องจักร หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า
47. อุตสาหกรรมเครื่องจักรไฟฟ้า หรือเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้ากำลัง
48. อุตสาหกรรมเครื่องรับ หรือ ส่ง วิทยุ หรือ โทรทัศน์ หรืออุปกรณ์สื่อสาร หรือเครื่องตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า
49. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบ้าน
50. อุตสาหกรรมเครื่องอุปกรณ์หรือวัสดุไฟฟ้าอื่น
51. อุตสาหกรรมเครื่องจักรสำหรับสำนักงาน
52. อุตสาหกรรมเครื่องมือวิชาชีพหรือเครื่องทดลอง หรือเครื่องอุปกรณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบหรือการควบคุมทางวิทยาศาสตร์
53. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ใช้ในการถ่ายภาพ การฉาย หรือ การขยายภาพ
54. อุตสาหกรรมนาฬิกา
55. อุตสาหกรรมการต่อเรือ การซ่อมเรือ หรือ การแปรสภาพเรือ
56. อุตสาหกรรมรถยนต์
57. อุตสาหกรรมจักรยานยนต์ หรือ รถจักรยาน
58. อุตสาหกรรมยานพาหนะที่ใช้ราง
59. อุตสาหกรรมอากาศยาน
60. อุตสาหกรรมเครื่องอุปกรณ์ขนส่งอื่น
61. อุตสาหกรรมการฟอก หรือการแต่งสำเร็จซึ่งหนังสัตว์
62. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ หรือหนังเทียม
63. อุตสาหกรรมเครื่องแต่งกายที่ทำจากหนังสัตว์หรือหนังเทียม
64. อุตสาหกรรมยางนอก หรือ ยางในของยานพาหนะ
65. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาง
66. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
67. อุตสาหกรรมเลื่อยไม้  หรือการไสไม้ หรือการประดิษฐ์วัสดุก่อสร้างที่ทำด้วยไม้
68. อุตสาหกรรมกล่อง หีบ ถัง หรือภาชนะอื่นที่ทำด้วยไม้ ไม้ไผ่ หรือหวาย
69. อุตสาหกรรมเครื่องเรือน และเครื่องตกแต่งภายในอาคารที่ทำด้วยไม้ทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่
70. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไม้อื่น
71. อุตสาหกรรมการพิมพ์
72. อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา
73. อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างที่ทำจากดินทั้งหมด หรือเป็นส่วนใหญ่
74. อุตสาหกรรมแก้ว หรือ ผลิตภัณฑ์แก้ว
75. อุตสาหกรรมซีเมนต์ ปูนขาว หรือ ปูนปลาสเตอร์
76. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากแร่อโลหะอื่น
77. อุตสาหกรรมเพชรหรือพลอย หรือ เครื่องเงิน ทอง ทองคำขาว หรือ นาก
78. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
79. อุตสาหกรรมเครื่องกีฬา
80. อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
81. อุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายก๊าซโดยใช้ระบบท่อส่ง
82. อุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายน้ำประปา
83. อุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไอน้ำ หรือน้ำร้อนโดยใช้ระบบท่อส่ง
84. อุตสาหกรรมการบรรจุสินค้าในภาชนะโดยไม่มีการผลิตสินค้า
85. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการโรงแรม หรือสถานที่พักแรม
86. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการสวนสนุก
87. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการสถานพยาบาล
88. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการศูนย์เอกซเรย์
89. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการสถานบริการร่างกาย
90. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการด้านการศึกษาและการกีฬา
91. อุตสาหกรรมการบันทึก ล้าง อัก หรือ ขยายภาพ หรือการบันทึกเสียง
92. อุตสาหกรรมการอบพืช และเมล็ดพืช การเก็บรักษาพืช หรือเมล็ดพืช หรือการกะเทาะเมล็ดพืช และเปลือกเมล็ดพืช
93. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ หรือ การเพาะปลูก
94. อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ แต่งแร่ หรือ ถลุงแร่
95. อุตสาหกรรมการปรับคุณภาพของเสีย
96. อุตสาหกรรมการซักรีด ซักฟอก รีด อัด หรือย้อมผ้า เครื่องนุ่งห่ม พรม หรือ ขนสัตว์
97. อุตสาหกรรมการซ่อมผลิตภัณฑ์ที่มิได้ระบุการซ่อมไว้ในลำดับกิจการอุตสาหกรรมใด
98. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการวิเคราะห์ หรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์
99. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการการบริหารของนิคมอุตสาหกรรมของเอกชน
100. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ เครื่องกำเนิดสัญญาณ เครื่องรับสัญญาณ สถานีรับสัญญาณจากดาวเทียมภาคพื้นดินตลอดจน อุปกรณ์เชื่อมโยง การสื่อสารซึ่งกำลังมือที่สำคัญต่อการติดต่อของโลกในปัจจุบัน และอนาคตอักใกล้
101. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้บริการชุมชนเชิงพาณิชย์ ได้แก่ การกำจัดขยะ การล้างรถยนต์ ศูนย์บริการการตรวจสภาพรถยนต์ จักรยานยนต์ โดย ภาคเอกชน เป็นผู้ควบคุมกันเองส่วนราชการมีหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย
102. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการขนส่งทางท่อ ได้แก่ กิจการขนส่งน้ำมัน ก๊าซ ปิโตรเลียมเหลว ถ่านหิน หรือสินค้าอื่นที่มีเครื่องจักรและอุปกรณ์สำคัญ
103. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกิจการขนถ่าย และคลังสินค้า ได้แก่ ระบบลำเลียงสินค้า รถขนถ่ายสินค้า เครื่องจักรขนถ่ายสินค้าตลอดจนเครื่องจักร และอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ ที่สำคัญ
104. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการให้บริการขนส่งที่ขับเคลื่อนบนรางหรือเคเบิล ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินและหรือระบบรถไฟลอยฟ้า ตัวรถไฟฟ้า และระบบสถานีควบคุมการติดต่อ สื่อสารการเดินรถ และกระเช้าลอยฟ้า (ระบบเคเบิล) รวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์ในโรงซ่อมบำรุง
105. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ สำหรับแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาสภาพแวดล้อม
106. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ วิเคราะห์และวิจัย เพื่อการพัฒนาการด้านเกษตร และอุตสาหกรรม
107. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการตรวจสอบ วิเคราะห์และวิจัยเพื่อการพัฒนามาตรฐานสินค้า


บริษัท แลนด์ อิน แลนด์ จำกัด
Line ID: @landinland
"เมืองในเมือง" รวมข้อมูลเกี่ยวกับการทำประโยชน์บนที่ดิน ภาษีที่ดิน และการแปรรูปหลังเก็บเกี่ยว
การเกษตร สุขภาพ และบ้านวัยเกษียณ
Back to content | Back to main menu